องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี :www.kaengdinso.go.th

 
 
ประวัติความเป็นมา

เดิมประวัติความเป็นมา เดิมตำบลแก่งดินสอ เป็นหมู่บ้านขึ้นอยู่กับตำบลทุ่งโพธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2521 ทางราชการเห็นว่า ตำบลทุ่งโพธิ์เป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่ จึงได้แบ่งแยกออกมาเป็นอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน คือ บ้านทับไทร บ้านท่าสะตื้อ บ้านวังอ้ายป่อง บ้านบุกล้วย บ้านวังรี บ้านแก่งดินสอ บ้านเขาขาด บ้านหินเทิน และบ้านบุเจริญ ปัจจุบันมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 3 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองมะไฟ บ้านอ่างทอง บ้านแก่งใหญ่ โดยใช้ชื่อบ้านแก่งดินสอเป็นชื่อตำบลตลอดมา การตั้งชื่อของตำบลว่า “แก่งดินสอ” นั้น เล่าต่อกันมาว่า สมัยก่อนตำบลแก่งดินสอมีหินที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นดินสอเขียนกับกระดานชนวนได้ คนสมัยก่อนไม่มีสมุดไม่มีปากกาจึงมีการนำหินชนวนไปทำเป็นดินสอใช้ขีดเขียนกัน และพบว่าแหล่งที่มีหินประเภทนี้อยู่จำนวนมากก็คือ หมู่ 6 บ้านแก่งดินสอ บริเวณที่เป็นแก่งมีน้ำไหลผ่าน คนส่วนใหญ่จึงเรียกพื้นที่ตำบลนี้ว่าแก่งดินสอ และใช้เป็นชื่อของตำบลต่อมา ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นคนที่อพยพมาจากที่อื่น คือ โคราช ระยอง อ่างทอง ชลบุรี และจันทร์บุรี คนดั้งเดิมในพื้นที่มีเพียงจำนวนน้อย คนที่อพยพเข้ามาได้มาก่อตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ โดยการประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน พืชที่ปลูกในพื้นที่ส่วนใหญ่คือ มันสำปะหลัง และยาพารา ต่อมาชุมชนได้มีการขยายใหญ่ขึ้นมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายหมู่บ้าน และมีประชาชนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนสามารถพัฒนากลายมาเป็นตำบลแก่งดินสอจนถึงทุกวันนี้ เป็นหมู่บ้านขึ้นอยู่กับตำบลทุ่งโพธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2521 ทางราชการเห็นว่า ตำบลทุ่งโพธิ์เป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่ จึงได้แบ่งแยกออกมาเป็นอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน คือ บ้านทับไทร บ้านท่าสะตื้อ บ้านวังอ้ายป่อง บ้านบุกล้วย บ้านวังรี บ้านแก่งดินสอ บ้านเขาขาด บ้านหินเทิน และบ้านบุเจริญ ปัจจุบันมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 3 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองมะไฟ บ้านอ่างทอง บ้านแก่งใหญ่ โดยใช้ชื่อบ้านแก่งดินสอเป็นชื่อตำบลตลอดมา การตั้งชื่อของตำบลว่า “แก่งดินสอ” นั้น เล่าต่อกันมาว่า สมัยก่อนตำบลแก่งดินสอมีหินที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นดินสอเขียนกับกระดานชนวนได้ คนสมัยก่อนไม่มีสมุดไม่มีปากกาจึงมีการนำหินชนวนไปทำเป็นดินสอใช้ขีดเขียนกัน และพบว่าแหล่งที่มีหินประเภทนี้อยู่จำนวนมากก็คือ หมู่ 6 บ้านแก่งดินสอ บริเวณที่เป็นแก่งมีน้ำไหลผ่าน คนส่วนใหญ่จึงเรียกพื้นที่ตำบลนี้ว่าแก่งดินสอ และใช้เป็นชื่อของตำบลต่อมา ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นคนที่อพยพมาจากที่อื่น คือ โคราช ระยอง อ่างทอง ชลบุรี และจันทร์บุรี คนดั้งเดิมในพื้นที่มีเพียงจำนวนน้อย คนที่อพยพเข้ามาได้มาก่อตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ โดยการประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน พืชที่ปลูกในพื้นที่ส่วนใหญ่คือ มันสำปะหลัง และยาพารา ต่อมาชุมชนได้มีการขยายใหญ่ขึ้นมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายหมู่บ้าน และมีประชาชนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนสามารถพัฒนากลายมาเป็นตำบลแก่งดินสอจนถึงทุกวันนี้